กำเนิด



          พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระบิดาแห่งกิจการรักษาดินแดน

         ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๔ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระบิดาแห่งกิจการรักษาดินแดน ได้พระราชทานกำเนิดกิจการรักษาดินแดน โดยทรงให้กำเนิดกิจการเสือป่าขึ้น เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๔๕๔ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นทหารเข้ารับการฝึกอบรม ให้มีจิตใจรักชาติบ้านเมือง เป็นผู้มีระเบียบวินัย เป็นผู้นำที่ดี มีกำลังกายแข็งแรง และมีความรู้เรื่องอาวุธ การเข้าเป็นเสือป่านั้นให้เข้าด้วยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับหรือเรียกเกณฑ์ ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ ๖ ทรงเสด็จสวรรคตในปีพุทธศักราช ๒๔๖๘ กิจการเสือป่าก็สิ้นสุดตามไปด้วย
         ต่อมาใบปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ รัฐบาลในสมัยนั้นได้ฟื้นฟู และปรับปรุงกิจการรักษาดินแดนขึ้นโดยกระทรวงกลาโหม ได้เริ่มมีการฝึกวิชาทหารให้แก่นักเรียน เรียกว่า “ยุวชนทหาร” มีความมุ่งหมายเพื่อให้ฝึกหัดการรบไว้ให้พร้อม ถ้าชาติใดข่มเหงทุกคนในชาติจักได้ช่วยกันสู้รบอย่างเต็มที่ หลักเกณฑ์เข้ารับการฝึกวิชาทหารเพื่อเป็นยุวชนทหารต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕ ปี และไม่เกิน ๑๗ ปี เป็นลูกเสือเอก และเป็นนักเรียนชั้นมัธยมตอนปลาย กิจการยุวชนทหารได้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองทัพญี่ปุ่นได้บุกรุกประเทศไทย โดยยกพลขึ้นบกบนแผ่นดินไทยหลายแห่งด้วยกัน เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ หน่วยยุวชนทหารจังหวัดชุมพร มีกำลังพลประมาณ ๑ หมวด โดยมี ร.อ.ถวิล นิยมเสน เป็นหัวหน้า ได้นำกำลังขัดขวางการรุกรานของทหารญี่ปุ่น ณ บริเวณสะพานท่านางสังข์และสามารถขัดขวางทหารญี่ปุ่นไว้ได้ ผลจากการปฏิบัติการรบทำให้ ร.อ.ถวิล นิยมเสน และยุวชนทหาร ๓ นาย ต้องเสียชีวิต วีรกรรมดังกล่าวยังคงเป็นที่สรรเสริญของคนไทยมาจนทุกวันนี้ และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลงในพุทธศักราช ๒๔๘๘ กิจการยุวชนทหารจึงได้สลายตัวตามนโยบายของรัฐบาล
        ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ พล.ท.หลวงชาตินักรบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้พิจารณาเห็นว่า การสงครามในอนาคตนั้น พลเมืองทุกคนไม่จำกัดเพศและวัย และไม่ว่าจะอยู่ ณ สถานที่ใด ย่อมจะต้องมีส่วนร่วมในสงครามด้วยกันทั้งสิ้น จึงจัดให้มีการฝึกพลเมืองที่สามารถเข้ารับการฝึกวิชาทหารได้ เพื่อให้ได้บุคคลสามารถทำหน้าที่อย่างทหารได้ในยามสงคราม กองทัพมีความจำเป็นต้องขยายโครงสร้างพร้อมกับพัฒนาระบบกำลังสำรองควบคู่กัน ไป กรมการรักษาดินแดนจึงถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๔๙๑ และคำสั่งทหารที่ ๕๔/๒๔๗๗ ลง ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ โดยเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ เป็นต้นมา และมีที่ตั้งครั้งแรกอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ.2475 ประเทศไทยเริ่มมีการฝึกยุวชนทหารเพื่อผลิตทหารกองหนุน สนับสนุนการรบของกองทัพไทย กล่าวได้ว่าการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร (นศท.) มีต้นกำเนิดและแนวคิดมาจากยุวชนทหาร
พ.ศ.2491 กิจการการศึกษาวิชาทหารได้เริ่มต้นขึ้นโดยมีการสถาปนากรมการรักษาดินแดน ตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร 2491 เพื่อดำเนินกิจการดังกล่าว ลงคำสั่งทหารที่ 54/2477 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2491 โดยแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น (ต่อมาแก้ไขโดย พ.ร.บ.จัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร 2500)
Cquote1.svg
การสงครามในอนาคตนั้น พลเมืองทุกคนไม่จำกัดเพศและวัย ย่อมจะต้องมีส่วนร่วมในสงครามด้วยกันทั้งสิ้น จึงมีความจำเป็นต้องขยายโครงสร้างของกองทัพ พร้อมกับพัฒนาระบบกำลังสำรองควบคู่กันไป
Cquote2.svg
พลโทหลวงชาตินักรบ (ศุข นักรบ)
พ.ศ.2492 ได้เริ่มรับสมัครนิสิตและนักศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 และทำการฝึกนศท.เป็นปีแรก โดยเริ่มในกรุงเทพมหานคร แล้วจึงกระจายไปตามหัวเมืองในต่างจังหวัด โดยดำเนินการฝึกเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งเท่ากับชั้นปีทีใช้ในการศึกษาระดับปริญญาตรีในขณะนั้น โดยเจตนารมณ์คล้ายกับโรงเรียนผลิตนายทหารสัญญาบัตรซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อ ผลิตบุคลากรให้เข้ารับราชการชั่วคราว (2 ปี) ในลักษณะเดียวกับการเป็นทหารกองประจำการแต่เป็นระดับสัญญาบัตรแทน จากนั้นให้ปลดเป็นกองหนุนหรือรับราชการต่อก็ได้ (ขึ้นกับความสามารถและความสมัครใจ)
พ.ศ.2497 ได้มีพิธีประดับยศเป็น ว่าที่ร้อยตรี สำหรับผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2497
พ.ศ.2528 ได้เริ่มมีการฝึกนศท.หญิงเป็นครั้งแรก พร้อมกับการฝึกนศท.ชั้นปีที่ 4 ในส่วนของกองทัพเรือ
พ.ศ.2544 สถาปนา หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง (นสร.) โดยการรวมกิจการของกรมการรักษาดินแดน และกรมการกำลังสำรองทหารบกเข้าด้วยกัน  ลงคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ 63/44 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2544
พ.ศ.2552 เปลี่ยนนามหน่วยเป็น หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) แทนชื่อเดิม หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง (นสร.) [9] โดย นรด. มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการและดำเนินการเกี่ยวกับกิจการกำลังสำรองทั้งปวง กิจการสัสดี รวมทั้งปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มีผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ การฝึกนศท.จึงได้รับการอำนวยการจากหน่วยงานดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน

 การคัดเลือก

ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี จะมีการคัดเลือกนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อเข้าเป็นนักศึกษาวิชาทหาร โดยผู้เข้ารับการคัดเลือกจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้
  1. สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป และมีผลการศึกษาของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า ตั้งแต่ 1.0 ขึ้นไป
  2. กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาที่หน่วยบัญชาการรักษาดินแดนเปิดทำการฝึกวิชาทหาร
  3. เป็นบุคคลชายหรือหญิงและมีสัญชาติไทย
  4. เป็นบุคคลผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปี และไม่เกิน 22 ปี นับตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และต้องได้รับคำยินยอมจาก บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง (กรณีที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)
  5. เป็นบุคคลที่ไม่พิการ ทุพพลภาพ หรือมีโรค ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ ตามกฎหมาย ว่าด้วยการรับราชการทหาร พ.ศ. 2497
  6. เป็นบุคคลที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามการเป็นทหารในเฉพาะบางท้องที่ ตามกฎหมาย ที่ออกตามความในมาตรา 13 (3) แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497
  7. เป็นบุคคลผู้มีน้ำหนัก ขนาดรอบตัว ขนาดส่วนสูง ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยผู้สมัครต้องผ่านการทดสอบร่างกาย ตามเกณฑ์ที่กำหนด
  8. มีใบรับรองของสถานศึกษาว่ามีความประพฤติเรียบร้อย สมควรเข้ารับการฝึกวิชาทหาร
นอกจากนี้ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
  1. เป็นบุคคลผู้มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI: Body Mass Index) อยู่ในเกณฑ์ปกติ และต้องไม่อยู่ในภาวะ โรคอ้วน ซึ่งมีดัชนีความหนาของร่างกาย ตั้งแต่ 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป (BMI = น้ำหนักตัว (กก.) / ส่วนสูง² (ม.²) )
  2. ผ่านเกณฑ์ทดสอบสมรรถภาพการคัดเลือกนักศึกษาในปี พ.ศ. 2553 คือ วิ่ง 800 เมตร ใน 3 นาที 15 วินาที, ลุกนั่ง (ซิดอัป) 34 ครั้ง ใน 2 นาที , ดันพื้น (วิดพื้น) 22 ครั้ง ใน 2 นาที

 หลักสูตรและการเรียนการสอน

เป้าหมายของการฝึกนักศึกษาวิชาทหารในแต่ละชั้นปี 
  • ชั้นปีที่ 1 และ 2 ให้นักศึกษาวิชาทหาร มีความรู้วิชาทหารเบื้องต้นในระดับลูกแถว เพื่อให้บังเกิดความมีระเบียบวินัยเสริมสร้างบุคลิกลักษณะทหาร สามารถใช้อาวุธประจำกายและทำการยิงอย่างได้ผล
  • ชั้นปีที่ 3 ให้นักศึกษาวิชาทหาร มีความรู้วิชาทหารในระดับผู้บังคับหมู่เพื่อให้มีความพร้อม ในการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยในการปฏิบัติการรบในแบบ และการรบนอกแบบ
  • ชั้นปีที่ 4 ให้นักศึกษาวิชาทหาร มีความรู้วิชาทหารในระดับรองผู้บังคับหมวดเพื่อให้มีความพร้อม ในการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยในการปฏิบัติการรบในแบบ และการรบนอกแบบ
  • ชั้นปีที่ 5 ให้นักศึกษาวิชาทหาร มีความรู้วิชาทหารในระดับผู้บังคับหมวดเพื่อให้มีความพร้อม ในการควบคุมบังคับบัญชาหน่วยในการปฏิบัติการรบในแบบ และการรบนอกแบบ
การฝึกวิชาทหารดังกล่าว ถ้ามีการละเว้นการเรียน 1 ปีโดยไม่แจ้งลาพักเข้ารับการฝึก จะถือว่าสิ้นสุดสภาพความเป็นนักศึกษาวิชาทหารไม่สามารถเข้ารับการฝึกในชั้น ปีต่อไปได้

 นักศึกษาวิชาทหาร ในส่วนของกองทัพบก

นักศึกษาวิชาทหารในส่วนของกองทัพบกสามารถแบ่งออกได้ 5 เหล่าคือ
  1. เหล่าทหารราบ
  2. เหล่าทหารม้า
  3. เหล่าทหารปืนใหญ่
  4. เหล่าทหารสื่อสาร
  5. เหล่าทหารช่าง
การเรียนการสอนนักศึกษาวิชาทหารแบ่งออกเป็นภาคที่ตั้งและภาคสนาม
ภาคที่ตั้ง 
หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) กำหนดให้หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหารในส่วนกลางทำการฝึก 20 สัปดาห์ ทั้งหมด 80 ชม. ในชั้นปีที่ 4 และ 5 นั้นจะมีการฝึกศึกษาวิชาเหล่าใน 40 ชม.หลัง และสำหรับส่วนภูมิภาค (มทบ. และ จทบ.) จะทำการฝึกภาคที่ตั้งในช่วงปิดภาคต้นของสถานศึกษาปกติ
ภาคสนาม 
1.นักศึกษาวิชาทหารชาย
  • ชั้นปีที่ 2 ทำการฝึกภาคสนาม ณ ค่ายฝึกตามที่ศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหารประจำ จทบ. มทบ. อย่างน้อย 3 วัน 2 คืน
  • ชั้นปีที่ 3 ทำการฝึกภาคสนาม ณ ค่ายฝึกตามที่ศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหารประจำ จทบ. มทบ. อย่างน้อย 5 วัน 4 คืน
  • ชั้นปีที่ 4 ทำการฝึกภาคสนาม ณ ค่ายฝึกเขาชนไก่ จ.กาญจนบุรี อย่างน้อย 7 วัน 6 คืน
  • ชั้นปีที่ 5 ทำการฝึกภาคสนาม ณ ค่ายฝึกเขาชนไก่ จ.กาญจนบุรี อย่างน้อย 7 วัน 6 คืน
2.นักศึกษาวิชาทหารหญิง
  • ชั้นปีที่ 2 ทำการฝึกภาคสนาม ณ ค่ายฝึกตามที่ศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหารประจำ จทบ. มทบ. อย่างน้อย 3 วัน 2 คืน
  • ชั้นปีที่ 3 ทำการฝึกภาคสนาม ณ ค่ายฝึกตามที่ศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหารประจำ จทบ. มทบ. อย่างน้อย 3 วัน 2 คืน
  • ชั้นปีที่ 4 ทำการฝึกภาคสนาม ณ ค่ายฝึกเขาชนไก่ จ.กาญจนบุรี อย่างน้อย 5 วัน 4 คืน
  • ชั้นปีที่ 5 ทำการฝึกภาคสนาม ณ ค่ายฝึกเขาชนไก่ จ.กาญจนบุรี อย่างน้อย 5 วัน 4 คืน
หลักสูตรพิเศษ 
ปัจจุบัน มีการฝึกหลักสูตรพิเศษ เช่น การกระโดดร่มแบบพาราเซล สำหรับนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 4 โดยมีการฝึกภาคที่ตั้งและภาคสนามเพิ่มเติมจากหลักสูตรปกติ

 นักศึกษาวิชาทหาร ในส่วนกองทัพเรือ (ราชนาวี)

สังกัดกองการกำลังพลสำรอง กรมกำลังพลทหารเรือ โดย กพส.กพ.ทร.ได้ประสานกับ นรด.เพื่อจัดหานักศึกษาวิชาทหารที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ของกองทัพเรือ หรือเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 ในส่วนของกองทัพเรือ (สมุดประจำตัวทหารกองหนุน หรือ สด.8 เป็นเล่มสีน้ำตาล) เข้ารับการศึกษาวิชาทหารในชั้นปีที่ 4 โดยแต่ละปีการศึกษาจะรับนึกศึกษาวิชาทหารประมาณ 90 นาย
พ.ศ. 2552 การฝึกนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ในส่วนของกองทัพเรือเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งจะขยายการฝึกจนครบทั้ง 5 ชั้นปีเช่นเดียวกับนักศึกษาวิชาทหารในส่วนของกองทัพบก แต่ยังเปิดรับนักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จการฝึกชั้นปีที่ 3 ในส่วนของกองทัพบกที่ประสงค์โอนย้ายมาฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 4 ในส่วนของกองทัพเรือไปจนถึงปีการศึกษา 2554
พ.ศ.2555 เป็นต้นไป การรับนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 4 จะรับสมัครนักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3 จากกองทัพเรือเป็นเกณฑ์หลัก
การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 4
  1. เป็นผู้ที่สำเร็จวิชาทหารชั้นปีที่ 3 และปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 (สมุด สด.8 สีน้ำตาล)
  2. ถ้าผู้เข้าศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 4 ไม่ครบตามจำนวน จะพิจารณาจากนักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จชั้นปีที่ 3 ในส่วนของกองทัพบก (สมุด สด.8 สีเขียว) ในเขตพื้นที่จังหวัด ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  3. เมื่อปฏิบัติตามข้อที่ 2 ไม่ครบตามจำนวน จะพิจารณานักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จชั้นปีที่ 3 ในส่วนของกองทัพบก (สมุด สด.8 สีเขียว) นอกเขตพื้นที่จังหวัด ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
นักศึกษาวิชาทหารในส่วนของกองทัพเรือสามารถแบ่งออกได้ 2 พรรค 3 หน่วย คือ
  1. พรรคนาวิน สังกัด กองเรือยุทธการ (กร.) เปิดรับทุก ๆ ปี ปีละประมาณ 45 นาย
  2. พรรคนาวิกโยธิน สังกัด หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.) เปิดรับปีเว้นปี ปีละประมาณ 45 นาย
  3. พรรคนาวิน สังกัด หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) เปิดรับปีเว้นปี (สลับกับ นย.) ปีละประมาณ 45 นาย
การฝึกภาคสนาม/ทะเล
  1. นักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 4 จะเข้ารับการฝึกเป็นเวลา 7 วัน ที่กองการฝึก กองเรือยุทธการ (กฝร.)
  2. นักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 5 จะแยกฝึกตามสังกัดของตน (กร., นย. หรือ สอ.รฝ.) โดยใช้เวลาฝึก 17 วัน
  3. หลักสูตรก่อนการแต่งตั้งยศเป็น ว่าที่เรือตรี ณ ศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (ศฝ.นย.) เป็นเวลา 15 วัน 

 นักศึกษาวิชาทหาร ในส่วนของกองทัพอากาศ

ปีการศึกษา 2549 กรมกำลังพลทหารอากาศได้รับอนุมัติจากกองทัพอากาศ เปิดการฝึกนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 และจะเปิดการฝึกครบทั้ง 5 ชั้นปี ในปีการศึกษา 2553 โดยกองทัพอากาศต้องการเน้นเฉพาะการฝึกนักศึกษาวิชาทหารเพื่อเป็นกำลังพล สำรองในส่วนช่างเทคนิค เพื่อชดเชยกำลังหลักในส่วนดังกล่าวที่ขาดแคลน โดยจะคัดเลือกเฉพาะนักศึกษาวิชาทหารที่สถานศึกษามีที่ตั้งใกล้เคียงกับกอง บัญชาการกองทัพอากาศกรุงเทพมหานคร และเปิดสอนในด้านช่างเทคนิค ซึ่งได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี โรงเรียนเซนต์จอห์นโปลิเทคนิค

 สิทธิที่นักศึกษาวิชาทหารจะได้รับ

 การแต่งกาย

นักศึกษาวิชาทหารมีสิทธิแต่งเครื่องแบบนักศึกษาวิชาทหารได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักศึกษาวิชาทหารและเครื่องแบบผู้กำกับนักศึกษา วิชาทหาร พ.ศ. 2521

 การยกเว้นตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ

นักศึกษาวิชาทหารที่อยู่ระหว่างการเข้ารับการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตร ของกระทรวงกลาโหม ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2503 มีสิทธิได้รับการยกเว้นการเรียกมาตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการใน ยามปกติ ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497

 การเข้ารับราชการทหารกองประจำการ

บุคคลชายผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด มีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน
  • นักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จชั้นปีที่ 1 มีสิทธิเข้ารับราชการทหารกองประจำการ 1 ปี 6 เดือน หรือร้องขอสมัครใจเป็น 1 ปี
  • นักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จชั้นปีที่ 2 มีสิทธิเข้ารับราชการทหารกองประจำการ 1 ปี หรือร้องขอสมัครใจเป็น 6 เดือน
  • นักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จชั้นปีที่ 3 มีสิทธิได้รับการขึ้นทะเบียนกองประจำการและปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 (ได้รับยกเว้นการเข้ารับราชการทหารกองประจำการ )

 การเพิ่มคะแนนพิเศษ

นักศึกษาวิชาทหารมีสิทธิได้รับการเพิ่มคะแนนพิเศษ เมื่อสอบเข้าโรงเรียนทหาร ตามข้อบังคับ กห.ว่าด้วยโรงเรียนทหาร พ.ศ. 2492 คือ
  • สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 1 เพิ่มให้ร้อยละ 3
  • สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 2 เพิ่มให้ร้อยละ 4
  • สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 3 เพิ่มให้ร้อยละ 5
  • สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 4 เพิ่มให้ร้อยละ 6
  • สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 5 เพิ่มให้ร้อยละ 7

 การแต่งตั้งยศทหาร

การแต่งตั้งยศทหารของนักศึกษาวิชาทหารผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร (ในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ) ซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการแต่งตั้งยศทหาร พ.ศ. 2507 ระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการแต่งตั้งยศผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรของกระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2524 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการแต่งตั้งยศผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรของกระทรวงกลาโหม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2537 ดังต่อไปนี้
ระดับการศึกษาที่สำเร็จ
(วิชาทหารตามหลักสูตรของ กห.)
ระดับการศึกษาที่สำเร็จ
(วิทยฐานะ ศธ.รับรอง)
ยศทหาร
ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ
อักษรย่อ
ทบ. ทร. ทอ.
ชั้นปีที่ 1 มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี ส.ต. จ.ต. จ.ต.

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า - ปริญญาตรี สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท ส.ท. จ.ท. จ.ท.
ชั้นปีที่ 2 - สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี ส.ต. จ.ต. จ.ต.

มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท ส.ท. จ.ท. จ.ท.

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า - ปริญญาตรี สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก ส.อ. จ.อ. จ.อ.
ชั้นปีที่ 3 - สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท ส.ท. จ.ท. จ.ท.

มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก ส.อ. จ.อ. จ.อ.

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า - ปริญญาตรี จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี จ.ส.ต. พ.จ.ต. พ.อ.ต.
ชั้นปีที่ 4 - จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี จ.ส.ต. พ.จ.ต. พ.อ.ต.

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า จ่าสิบโท พันจ่าโท พันจ่าอากาศโท จ.ส.ท. พ.จ.ท. พ.อ.ท.

ปริญญาตรี จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก จ.ส.อ. พ.จ.อ. พ.อ.อ.
ชั้นปีที่ 5 - จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก จ.ส.อ. พ.จ.อ. พ.อ.อ.

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า - ปริญญาตรี ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี ร.ต. ร.ต.(ชื่อ) ร.น. ร.ต.
หลักสูตรฝึกเลื่อนยศ(สูงสุด)
พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี พ.ต. น.ต.(ชื่อ) ร.น. น.ต.
หมายเหตุ 1 : ยศทหารชั้นสัญญาบัตรที่มิได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศทหาร ให้มีคำว่า "ว่าที่" นำหน้ายศนั้น ๆ
หมายเหตุ 2 : เมื่อได้รับการแต่งตั้งยศเป็นนายทหารสัญญาบัตรแล้วให้ปลดเป็นนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน(ไม่มีเบี้ยหวัด) หรือได้รับการแต่งตั้งเป็นนายทหารประทวน ซึ่งทั้งสองกรณีให้ปลดเป็นทหารกองหนุน ประเภทที่ 1 เช่นเดีัยวกัน
หมายเหตุ 3 : เมื่อสมัครสอบคัดเลือกและได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการทหาร การแต่งตั้ง การเลื่อนหรือลดตำแหน่ง การย้าย การโอน การเลื่อนชั้นเงินเดือน...ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521  (แก้ไขเพิ่มเติม ฉับบที่ 7 พ.ศ. 2551 ) ส่วนการแต่งตั้งยศทหารให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงกลาโหมกำหนดตามพระราชบัญญัติยศทหาร พ.ศ. 2479  (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2494 และ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2505)

ทำเนียบเจ้ากรม กรมการรักษาดินแดน

  1. พลเอก สุทธิ สุทธิสารณกร พ.ศ. 2491 - 2491
  2. พลโท ขุนศิลป์ศรชัย พ.ศ. 2491 - 2492
  3. พลตรี จำรัส จำรัสโรมรัน พ.ศ. 2492 - 2494
  4. พลโท ขุนศิลป์ศรชัย พ.ศ. 2494 - 2495
  5. พลโท สุรใจ พูลทรัพย์ พ.ศ. 2495 - 2506
  6. พลโท พิศิษฐ์ ฉายเหมือนวงศ์ พ.ศ. 2506 - 2507
  7. พลโท บุญชัย บำรุงพงศ์ พ.ศ. 2507 - 2508
  8. พลโท ยุทธ สมบูรณ์ พ.ศ. 2508 - 2513
  9. พลโท อุทัย ฉายแสงจันทร์ พ.ศ. 2513 - 2515
  10. พลโท พนม โชติพิมาย พ.ศ. 2515 - 2517
  11. พลโท แสวง ขมะสุนทร พ.ศ. 2517 - 2519
  12. พลโท เอื้อม จิระพงศ์ พ.ศ. 2519 - 2522
  13. พลโท ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขะกะ พ.ศ. 2522 - 2523
  14. พลโท เทียนชัย สิริสัมพันธ์ พ.ศ. 2523 - 2525
  15. พลโท จารุ จาติกานนท์ พ.ศ. 2525 - 2528
  16. พลโท วิจิตร สุขมาก พ.ศ. 2528 - 2530
  17. พลโท วิโรจน์ แสงสนิท พ.ศ. 2530 - 2531
  18. พลโท วชิรพล พลเวียง พ.ศ. 2531 - 2533
  19. พลโท อารียะ อุโฆษกิจ พ.ศ. 2533 - 2534
  20. พลโท อานุภาพ ทรงสุนทร พ.ศ. 2534 - 2535
  21. พลโท ยุทธพันธุ์ มกรมณี พ.ศ. 2535 - 2536
  22. พลโท ประยูร มีเดช พ.ศ. 2536 - 2538
  23. พลโท การุญ ฉายเหมือนวงศ์ พ.ศ. 2538 - 2540
  24. พลโท พนม จีนะวิจารณะ พ.ศ. 2540 - 2542
  25. พลโท หาญ เพไทย พ.ศ. 2542 - 2543
  26. พลโท เกรียงไกร เจริญศิริ พ.ศ. 2543 - 2544
  27. พลโท จำลอง บุญกระพือ พ.ศ. 2544

ทำเนียบเจ้ากรม กรมการกำลังสำรองทหารบก

  1. พลตรี เหรียญ ดิษฐบรรจง พ.ศ. 2513 - 2519
  2. พลตรี จิตต์กวี เกษะโกมล พ.ศ. 2519 - 2521
  3. พลตรี มานะ รัตนโกเศศ พ.ศ. 2521 - 2524
  4. พลตรี ศิริชัย ลักษณียนาวิน พ.ศ. 2524 - 2526
  5. พลตรี ปัญญา ขวัญอยู่ พ.ศ. 2526 - 2528
  6. พลตรี ปราโมทย์ ระงับภัย พ.ศ. 2528 - 2531
  7. พลตรี อุทัย ชุณหเพสย์ พ.ศ. 2531 - 2534
  8. พลตรี สุพจน์ เกิดชูชื่น พ.ศ. 2534 - 2537
  9. พลตรี บรรจบ จูภาวิง พ.ศ. 2537 - 2541
  10. พลตรี ศักดิ์สิน ทิพย์เกษร พ.ศ. 2541 - 2544

 ทำเนียบผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง

  1. พลโท จำลอง บุญกระพือ พ.ศ. 2544 - 2545
  2. พลโท ชาญวิช ศรีธรรมวุฒิ พ.ศ. 2545 - 2546
  3. พลโท ศักดิ์สิน ทิพยเกษร พ.ศ. 2546 - 2547
  4. พลโท วิชญ ไขรัศมี พ.ศ. 2547 - 2548
  5. พลโท อาทร โลหิตกุล พ.ศ. 2548 - 2549
  6. พลโท มนตรี สังขทรัพย์ พ.ศ. 2549 - 2549
  7. พลโท สมเกียรติ สุทธิไวยกิจ พ.ศ. 2549 - 2551
  8. พลโท สิงห์ศึก สิงห์ไพร พ.ศ. 2551- 2552

ทำเนียบผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน(ปัจจุบัน)

  1. พลโท สิงห์ศึก สิงห์ไพร พ.ศ. 2552 - 2552
  2. พลโท ธนดล เผ่าจินดา พ.ศ. 2552 - 2554
  3. พลโท ชูเกียรติ เธียรสุนทร พ.ศ. 2554 -2555
  4. พลโท วิชิต   ศรีประเสริฐ พ.ศ. 2555 - 2556
  5. พลโท  ยศนันท์   หร่ายเจริญ  พ.ศ.2556 - 2557
  6. พลโท ทลวงรณ  วรชาติ พ.ศ.2557-2558
  7. พลโท  วีรชัย   อินทุโสภน  พ.ศ.2558 - ปัจจุบัน
 
                                  
ผู้บังคับบัญชาหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน


พลโท วีรชัย  อินทุโศภน
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
Lt.Gen. 
Werachai Indusobhana
Commanding General Territorial Defense Command


พลตรี วิโรจน์  วิจิตรโท
รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
Maj.Gen. Virote Wichitdho 
Deputy Commanding General 
Territorial Defense Command
พลตรี สุริศร์  สุขชุ่ม
รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
Maj.Gen. Surit Sukchum
Deputy Commanding General 
Territorial Defense Command
พลตรี วัชระ  นิตยสุทธิ์
เสนาธิการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
Maj.Gen. Watchara Nittayasut

Territorial Defense Command 
Chief of staff
พลตรี ปราการ  ปทะวานิช
ผู้บัญชาการศูนย์การกำลังสำรอง
Maj.Gen. 

Commanding General
Reserve Affairs Center
พลตรี ณรงค์  พฤกษารุ่งเรือง
ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11
Maj.Gen.

Commanding General
11th Infantry Division
       ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ และกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองทัพบก พ.ศ.2544 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาฯ   ลง  วันที่ 10 พฤษภาคม 2544 ให้หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง  เป็นส่วนราชการของกองทัพบก มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2544 ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ 63/44 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2544 ให้จัดตั้งหน่วยบัญชาการกำลังสำรองโดยรวมกรมการรักษาดินแดน และกรมการกำลังสำรองทหารบกเข้าด้วยกัน
         ผบ.ทบ. ได้กรุณาอนุมัติคำสั่ง ทบ. เรื่อง เปลี่ยนนามหน่วย แปรสภาพหน่วยและปรับปรุงโครงสร้างหน่วยทหาร เพื่อรองรับ พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ
กองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ.2552 ซึ่งได้ประกาศใช้ และให้มีผลในทางปฏิบัติตั้งแต่ 1 เม.ย.52 ให้เปลี่ยนนามหน่วย [เดิม] หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง (นสร.) 
เป็น หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ใช้นามย่อ "นรด." 
       
  และ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ และกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองทัพบก พ.ศ.2552 และประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาฯ  เล่ม 126 ตอนที่ 19 ก หน้า 16 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2552 มาตราที่ 17 ให้หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการและดำเนินการเกี่ยวกับกิจการกำลังสำรองทั้งปวง กิจการสัสดี รวมทั้งปกครองบังคับบัญชาหน่วยทหารที่กระทรวงกลาโหมกำหนด มีผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ